The Right to Voice Out:
มณเฑียร บุญมา ผลงาน Self Portrait พ.ศ. 2525 แสดงทัศนะการให้ความสำคัญต่อการทดลองเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านภาพเหมือนใบหน้าศิลปินใช้กระบวนวิธีการ Collage Art ที่ศิลปินผสมผสานเทคนิคหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน อาทิ การวาดสีบนภาพถ่าย และการขีดข่วนบนกระดาษถ่ายภาพ ผลงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงการแสวงหาสิ่งใหม่ การทดลอง ในยุคเริ่มต้นของมณเฑียร โดยการใช้ภาพเหมือนตนเองเป็นสื่อสัญลักษณ์สะท้อนความคิด ภายหลังต่อมาได้พัฒนาเป็นผลงานชุดอื่น ๆ Self Portrait มณเฑียรสำรวจการสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะใหม่ โดยใช้เทคนิคการแต่งภาพบนฟิล์ม 35 มม. และการวาดสีทับ เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการแสดงออกทางศิลปะร่วมสมัย
ชาติ กอบจิตติ สะสมผลงานศิลปะชิ้นนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เพื่อสนับสนุนการทำงานสร้างสรรค์ของมณเฑียรที่เป็นเพื่อนรักร่วมชั้นจากโรงเรียนเพาะช่าง ไม่นานมานี้ ชาติ ได้มอบผลงานชิ้นนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ MoNWIC ในการเผยแพร่ต่อสาธารณะ
ชาติ กอบจิตติ ย้อนระลึกถึงการสนทนากับมณเฑียร บุญมา ในปี พ.ศ. 2525 ว่า “มณเฑียรได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการสิทธิที่หายไปของบุคคลคนข้ามเพศ (เพศทางเลือก) ตลอดจนการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศของพวกเขา” ภาพเหมือนมณเฑียรชิ้นนี้ ยังอุปามาอุปมัยภาพชายได้รับปากใหม่ ปรากฏล็อคด้วยสกรูที่มุมภาพ สื่อถึงการเปลี่ยแปลงสภาพอัตลักษณ์และการยอมรับสิทธิของคนข้ามเพศในประเทศไทย เช่นเดียวกับการแต่งหน้าของมณเทียรยังแสดงถึงความอารมณ์ขัน และการสร้างตัวตนใหม่ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงปลายเปิดเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเพศสภาพ
แนวคิดบุกเบิกของมณเฑียร บุญมา ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นร่วมสมัยทางสังคมตั้งแต่ต้นปี 2523 แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันก้าวหน้า ณ ปัจจุบัน ประเด็นเรื่องสิทธิของคนข้ามเพศได้รับการยอมรับไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากกว่าในอดีต