ถวัลย์ ดัชนี

“Monk (Kualalu)”


ศิลปิน : ถวัลย์ ดัชนี
เทคนิค :  ภาพวาดสีน้ำมัน
ปีที่ผลิต : 2507
ขนาด : 86 x 189 ซม.

ถวัลย์ ดัชนี เป็นจิตรกรมือเอกที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย และได้รับยกย่อง
เชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรมในปี 2544 ผลงานของถวัลย์มีเอกลักษณ์และความงามเฉพาะตัว ตั้งแต่ผลงานประเภทจิตรกรรมไปจนถึงประติมากรรม ถวัลย์จะวาดเฉพาะสิ่งที่ตนมองว่าเป็นแก่นหลัก โดยรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างขนาดใหญ่อีกที

สมัยถวัลย์ยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2500-2506) และศึกษาต่อที่
ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม (Rijks Akademie van beeldende Kunsten) ผลงานต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นเส้นทางชีวิตแรกเริ่มของศิลปินที่ถ่ายทอดเรื่องราวอิทธิพล
รอบตัว แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสารคดีถ่ายทอดชีวิตของนักศึกษาทัศนศิลป์คนหนึ่งอย่างแท้จริง เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังทศวรรษ 1960 ผลงานของศิลปินเริ่มสะท้อนให้เห็นชีวิตของนักศึกษาในช่วงค้นหาตนเองหลังสำเร็จการศึกษา ผลงานแต่ละชิ้นออกสำรวจแนวคิด
ต่าง ๆ ที่เป็นกระแสในยุโรปช่วงนั้น เช่น ลิทธิธรรมชาตินิยม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (expressionism) ลัทธิบาศกนิยม (cubism) และลัทธิเหนือจริง

ช่วงเวลานี้เองที่เราจะได้เห็นเนื้อหาหลากหลายรูปแบบที่เน้นเรื่องรูปทรงของถวัลย์ เป็นผลงานที่หาดูยากเนื่องจากหลังช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นไปศิลปินหันไปเน้นผลงานเกี่ยวกับลัทธิรหัสยนิยมเพียงอย่างเดียว ผลงานที่เผยแพร่ต่อสาธารณในปัจจุบันล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากปรัชญาความเชื่อโบราณ โดยเฉพาะปรัชญาอียิปต์ ฮินดู และพุทธ โดยถวัลย์นำสิงสาราสัตว์มาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารแนวคิดเบื้องหลัง ผู้ชมต้องตีความเชิงสัญลักษณ์จากองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพเพื่อตัวปลดล็อคความหมาย สะท้อนให้เป็นเกร็ดชีวิตของปุถุชนธรรมดา ซึ่งเป็นแนวคิดที่เข้าถึงผู้ชมโดยภาพรวมอย่างยิ่ง

ผลงานของถวัลย์มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่ฝีแปรงเกรี้ยวกราดและแสงเงาที่สะท้อนอารมณ์
ท่วนท้น หลังช่วงทศวรรษ 1980 ถวัลย์มักใช้สีแดง ดำ และทองในการสร้างผลงานเป็นหลัก ต่อไปภายหลังปี 2540 ถวัลย์เริ่มนำรูปร่างมนุษย์มาสอดแทรกในผลงาน โดยใช้เป็นฐานในการแสดงความรู้สึกภายในที่ปล่อยให้สิงสาราสัตว์ออกมาโลกแล่นอย่างอิสระบนร่างกายมนุษย์ ทั้งแหวกว่าย และคลอเคลียไปตามส่วนโค้งส่วนเว้าต่าง ๆ ถวัลย์มักบอกว่าผลงานศิลปะของเขาคือพุทธปรัชญาประเภทหนึ่ง และศิลปินต้องการให้ผลงานเป็นเครื่องมือทางพุทธศิลป์ในโลกสมัยใหม่ ทำให้ผลงาน Monk (Kualalu) เป็นหนึ่งในผลงานชุดแรก ๆ ที่นำปรัชญาพุทธมาใช้เป็นแก่นในการสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ผลงานของถวัลย์กลับถูกกรีดทำลายโดยกลุ่มต่อต้าน โดยในช่วงปี 70 นิทรรศการของถวัลย์ ดัชนีถูกบุกทำลาย จนศิลปินออกมาประกาศกร้าวว่าจะไม่แสดงผลงานในประเทศไทยอีกแล้ว

ผลงาน Monk (Kualalu) มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม มีการตัดเส้นขอบดำทึบล้อมรอบอย่างไม่เกรงกลัว สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์การสร้างผลงานของถวัลย์ที่ยังคงใช้อยู่ตั้งแต่เริ่มสายอาชีพศิลปิน นอกจากนี้ผลงาน Monk (Kualalu) ยังสะท้อนให้เห็นจริตของศิลปินในการเลือกสีดำ แดง และเหลืองเป็นสีหลักในผลงานอีกด้วย เทคนิคการวาดภาพเช่นนี้ยังสะท้อนให้เห็นในผลงานอื่น ๆ ในนิทรรศการ ไตรสูรย์ ปี 2547 ที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และผลงาน “มารผจญ” (2532)

ในฐานะพุทธศาสนิกผู้เลื่อมใส่ในพุทธศาสนา ถวัลย์ใช้ชีวิตโดยไม่ยึดติดวัตถุ แนวทางการใช้ชีวิตนี้สอดคล้องกับแถลงการณ์ที่ศิลปินประกาศกร้าวไว้ว่า “ผมไม่ใช่ศิลปินเซอร์เรียลิสม์ผมคือถวัลย์ ดัชนี”