The Scale II (2015)
The Scale II (2015)

สีสดใสของฉากหลังทำหน้าที่รองรับร่างกายที่บิดเบี้ยวและโค้งงอของกวิตา สื่อถึงนิสัยการบริโภคของมนุษย์และพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว โดยจงใจเลือกสีให้เลียนแบบสีของซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อดึงดูด
ผู้ชมเหมือนผู้ซื้อ สีเหล่านี้ได้มีบทบาทในการสื่อสารที่สำคัญพอ ๆ กับการแสดงท่าทางในผลงาน
ของกวิตา

ศิลปิน กวิตา วัฒนะชยังกูรเป็นที่รู้จักจากผลงานวิดีโอและผลงานพอฟอมเมินซ์ของเธอ ตั้งแต่ชุดงานชื่อ Tools ของปี 2555 กวิตาได้ผสานร่างกายของเธอเข้ากับเครื่องใช้ในบ้าน แล้วเธอก็ใช้รูปร่างและตัวตนทั้งหมดของเธอในการปั้นให้ตัวเองกลายป็นตัวแทนของความอดทนของ

ผู้หญิง กวิตายังคงทำงานต่อในหัวข้อเดิม โดยสำรวจหัวข้อที่คล้ายกันเพิ่ม เช่นการให้วัตถุต่าง ๆ ให้เป็นตัวบังคับร่างกายแล้วในทางกลับกัน ก็ใช้ร่างกายของเธอจัดการกับวัตถุ ความสัมพันธ์ของสองสิ่งนี้ที่กวิตาได้สำรวจผ่านงานของ ได้กล่าวถึงข้อจำกัดของศักยภาพมนุษย์โดยตรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

แรงงานนั้นได้เป็นประเด็นการวิจัยทำงานสำหรับศิลปินอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวคิดของเครื่องจักรและการกระทำที่ซ้ำ ๆ ศิลปินได้ทำร่างกายของเธอให้เป็นเสมือนเครื่องจักรที่ทำงานวนไปมา ซึ้งอาจมีการเคลื่อนไหวที่ซำ้กัน แต่ทีละครั้งที่ขยับท่าทางที่ซำ้กันนั้น ได้ช่วยขยายพอฟอมเมินซ์ออกไปสู่ประเด็นทางสังคมได้หลายชั้น จึงทำให้งานของกวิตาได้เชิญผู้ชมให้มีส่วนร่วมในการผูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของ สิทธิสตรี อุตสาหกรรมแรงงาน วงล้อแห่งธรรมะ และความอดทนของมนุษย์ เป็นตัวอย่าง

ในแต่ละชิ้น กวิตาจะวางแผน ออกแบบ และถ่ายทำงานของเธอด้วยตัวเอง พร้อมกับความช่วยเหลือจากคุณแม่และแม่บ้าน ในแต่ละชิ้นงานของกวิตา ศิลปินต้องวางแผนการทำงานไว้อย่างดี เพราะการถ่ายทำเมื่อเธอพอฟอมนั้น ต้องใช้ความแม่นยำและอดทนสูง บ่อยครั้งที่กวิตาพอฟอมจนถึงจุดที่
ทรุดตัวเป็นลมลง ซึ่งศิลปินได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์นี้ว่า เหมือนกับการกลายเป็นวัตถุอย่างนึงที่ถูกผลักดันโดนใช้จนถึงขีดสุดเหมือนในซีรี่ส์ Performing Textiles (2561-2562) ของเธอ

Shuttle (2018)
Shuttle (2018)