อนุพงษ์ จันทร

“ก้นบาตร”


ศิลปิน : อนุพงษ์ จันทร 
เทคนิค : ภาพสีน้ำมันบนผ้าจีวร 
ปี : 2550 
ขนาด : 80 x 100 ซม. 

13 ปีแล้วที่อนุพงษ์ จันทรคว้ารางวัลทองคำในงานมอบรางวัลศิลปินแห่งชาติในปี 2550 โดยผลงานที่คว้ารางวัลครั้งนั้นก็คือภาพ “ภิกษุสันดานกา” ที่เป็นกระแสวิพากย์วิจารณ์ครั้งใหญ่  ผลงาน “ภิกษุสันดานกา” เผยให้เห็นภาพคนสองคนห่มผ้าเหลืองมีจะงอยปากคล้ายอีกาดำ ทำท่าคุ้ยเขี่ยหาอาหารในบาตรที่ประสงฆ์ไทยใช้ในการบิณฑบาต  บนไหล่ของทั้งสองมีอีกาชำเลืองมองรอฉวยโอกาสขโมยเศษอาหารที่อาจหลุดรอดออกมา  ทั้งสองมีแขนขายาวเป็นพิเศษ หัวโต มือใหญ่บาน ตาปริบหรี่ เป็นสัญลักษณ์แทนคนชั่วที่เอาตัวรอดโดยการซ่อนตัวหลังผ้าเหลืองที่ผู้คนเคารพบูชา 

ผลงาน “ก้นบาตร” (2550) ได้รับแรงบันดาลใจจากกิจวัตรประจำวันที่คนไทยบางกลุ่มยึดตามขนบอันเป็นวิถีชีวิตที่ศิลปินเติบโตมา มีความเชื่อว่าพระสงห์จะต้องเป็นผู้ได้ฉันข้าวก่อนคนแรก เมื่อถวายข้าวให้พระสงฆ์แล้วจึงค่อยตักข้าวกินได้ ความเชื่อนี้เป็นขนบที่สะท้อนแนวคิดว่า “สิ่งใดที่ตักตวงจากวัด ย่อมกลับคืนสู่วัด” ด้วยเหตุนี้ครั้งอนุพงษ์ยังเด็ก เขาจึงไม่เคยได้ตักข้าวทัพพีแรกจากหม้อให้ตนเองเนื่องจากข้าวทัพพีแรกจะต้องนำมาถวายให้แก่พระภิกษุในช่วงทำบุญตอนเช้า ถือเป็นกุศโลบายสอนความอดทนและคุณธรรมผ่านภูมิปัญญาโบราณ

ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานชุดที่อาศัยผ้าจีวรเย็บติดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเป็นผืนผ้าใบ  เช่นเดียวกับผลงาน “ก้นบาตร” (2550) ภาพวาดเหล่านี้ก็ถูกวิพากย์วิจารณ์ในเชิงลบจากกลุ่มพุทธศาสนิกชนหัวอนุรักษ์นิยมที่ออกมาประท้วงขอให้ริบรางวัลที่มอบให้แก่อนุพงศ์เนื่องจากมองว่าผลงานดังกล่าวเป็นการลบหลู่ศรัทธาพุทธศาสนาและจะต้องได้รับผลตอบแทน แต่สำหรับอนุพงษ์ผู้ฝึกฝนผลงานศิลปะไทยโดยเฉพาะภาพจิตกรรมไทยแล้ว ผลงานเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนความคิดที่ผ่านการตกผลึกจากสิ่งที่ศิลปินเรียนรู้และถูกผู้ใหญ่อบรมสั่งสองที่บ้าน  บุคคลในภาพเป็นเพียงพระสงฆ์ชั่วที่ตักตวงผลประโยชน์โดยอาศัยผ้าเหลืองที่ผู้คนเลื่อมใสศรัทธาเป็นที่ซ่อนขณะตักตวงผลประโยชน์ส่วนตัว “ในสังคมไทยยังมีพระสงฆ์แบบนี้อยู่” ศิลปินกล่าว “เราควรแบ่งแยกพระสงฆ์ดีออกจากพระสงฆ์ชั่ว” 

อนุพงษ์ จันทร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลับศิลปากรสาขาศิลปะไทยและใช้เวลา 4 ปีในการบ่มเพาะทักษะและความสามารถเชิงศิลป์ในการศึกษาภาพจิตกรรมฝาผนังและลับคมสไตล์การวาดภาพจิตกรรมที่พบตามกำแพงศาสนสถาน อนุพงษ์กลายเป็นศิลปินที่ช่ำชองเรื่องราวบนจิตรกรรมฝาผนัง และหลงใหลตำนานภูติผีและวิญญาณในผ้าทอของบาหลีอีกด้วย