“ชุดผลงานภาพจิตรกรรมที่หายไป”

“ชุดผลงานภาพจิตรกรรมที่หายไป”


ศิลปิน : ชลูด นิ่มเสมอ 
เทคนิค : สื่อผสม 
ปี : ไม่ทราบปี 
ขนาด : 115 x 115 ซม. 

กว่า 10 ปีที่แล้วที่จิตวิญญาณนักผจญภัยได้พาคุณณรงค์ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะ MoNWIC มายังได้โรงหนังเก่าๆ เพื่อตามหากรุสมบัติที่หล่นหายไปในอดีต หลังจากได้ยืนยันผลงานศิลปินแล้ว คุณณรงค์รีบนำผลงานทั้ง 3 ชิ้นมาฟื้นฟูซ่อมแซมใหม่ ภายหลังพบว่าผลงานภาพจิตรกรรมรูปทรงกลมทั้ง 3 ชิ้นนี้เป็นผลงานของชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินในตำนาน

ชลูด นิ่มเสมอเกิดในปีพ.ศ. 2455 ที่จังหวัดธนบุรีและสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้ศิลปินยังได้รับวุฒิบัตรสาขาศิลปกรรมศาสตร์จากสถาบันประณีตศิลป์ (Rome’s Accademia di Belle Art) แห่งกรุงโรมประเทศอิตาลีอีกด้วย

ชลูดเป็นนักศึกษารุ่นแรก ๆ ที่ได้เรียนศิลปะโดยตรงกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร   ในปีพ.ศ. 2518 ชลูดดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และก่อตั้งสาขาทัศนศิลป์ในปีพ.ศ. 2508 และสาขาจิตกรรมไทยในปีพ.ศ. 2519 ผลงานของชลูดคว้ารางวัลชนะเลิศและถูกคัดเลือกมาจัดแสดงในนิทรรศการเดี่ยวและนิทรรศการกลุ่มหลายครั้ง

This image has an empty alt attribute; its file name is Mural2-2000x1954.jpg
ชลูด นิ่มเสมอ, จิตรกรรมฝาผนัง, สื่อผสม
(Carborundum Powder And Glue, Acrylic On Wood,) 110 x 110 ซม. ไม่ทราบปี

ตลอดช่วงชีวิตที่ทำงานเป็นศิลปิน ผลงานของชลูดมีการพัฒนาออกเป็น 6 ช่วงโดยเน้นย้ำเรื่องราวแตกต่างกัน ทั้งนี้ผลงานชุดล่าสุดที่ศิลปินได้ฝากไว้ก่อนจากไปเมื่อปีพ.ศ. 2558 คือผลงานภาพวาดหมึกและภาพสีอะคริลิคบนกระดาษใบหม่อน จากประสบการณ์ทำงานในแวดวงศิลปะกว่า 60 ปี ชลูดยังคงความเป็น “ศิลปินชนบท” สังเกตได้จากการเลือกวัสดุผ้าใบที่ใช้ในการพิมพ์

นอกจากสร้างสรรค์ผลงานแล้วชลูดยังเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางวิชาการศิลปะให้แก่ประเทศไทยโดยแต่ง “หนังสือองค์ประกอบของศิลปะ” ตำราทฤษฎีศิลปะสำหรับนักศึกษาสาขาทัศนศิลป์และอาจารย์ศิลปะ  ถือเป็นคัมภีร์ชิ้นสำคัญที่ได้รับการเชิดชูเป็นวงกว้าง ชลูด นิ่มเสมอได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติในปีพ.ศ. 2541

ผลงานจิตกรรมฝาผนังทั้ง 3 ชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปินในการคัดเลือกวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างผลงาน เช่น การนำผงซิลิคอนคาร์ไบด์ที่นิยมใช้ในภาพพิมพ์มาใช้สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคโคลากราฟหรือการสร้างภาพพิมพ์ที่เกิดจากวัสดุปะติด ในสมัยนั้นมีเพียงชลูดที่นำเทคนิคนี้มาใช้ นอกจากนี้ผลงานแนวศิลปะนามธรรมที่สร้างชื่อให้กับศิลปินในช่วงปีพ.ศ. 2510 ก็อาศัยเทคนิคภาพพิมพ์คล้ายคลึงกัน ผลงานในชุดภาพพิมพ์เทคนิคโคลากราฟของชลูดจากยุคนั้นจะประกอบด้วยภาพพระอาทิตย์และพระจันทร์ กับพื้นหลังเป็นสีแดงและน้ำเงินซึ่งก็ปรากฎอยู่ในงานสามชิ้นนี้

This image has an empty alt attribute; its file name is Mural3.jpg
ชลูด นิ่มเสมอ, จิตรกรรมฝาผนัง, สื่อผสม
(Carborundum Powder And Glue, Acrylic On Wood,) 110 x 110 ซม. ไม่ทราบปี

นี่คือวินาทีที่ตอกย้ำความหลงใหลของนักสะสมผลงานศิลปะในฐานะผู้รักษามรดกทางวัฒนธรรมและในฐานะผู้เชิดชูความทรงจำของศิลปินเอกในประเทศไทย อย่างเช่นชลูด นิ่มเสมอให้กลับมาโลดแล่นใหม่อีกครั้ง