“แท็กชี่แมน”

“แท็กชี่แมน”


ศิลปิน : นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล
ชื่อผลงาน : Taximan (แท็กชี่แมน)
เทคนิค : สื่อผสม
ปี : 2543
ขนาด : 135 x 180 ซม. (x 10)

นาวิน ลาวัลย์ชัยกุลเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2514 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ในฐานะศิลปินเชื้อสายไทย-อินเดีย นาวินรังสรรค์ศิลปะโดยเล่นเรื่องอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (public engagement) ศิลปินมีชื่อเสียงด้านการทำงานในโปรเจกต์ขนาดใหญ่ โดยมีทีมโปรดักชันภายใต้ชื่อ Navin Production สตูดิโอที่ตั้งอยู่ในบ้านเกิดของเขาเอง  

เมื่อปี 2535 นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของนาวินในกรุงเทพฯ ต้องประสบกับอุปสรรคจากสภาพการจราจรที่ย่ำแย่ของตัวเมือง ผู้ชมต่างมองว่าแกลเลอรี่อยู่ไกลเกินไป ทำให้ต้องเสียเวลาเดินทางนานและไม่อยากเดินทางไปชมงาน เมื่อคิดถึงการจราจรและการขนส่งแล้วนาวินจึงเกิดไอเดียขึ้นมาและพัฒนาจนเป็นโปรเจกต์ Navin Gallery Bangkok (2538) อันเลื่องชื่อ 

นาวินได้รับแรงบันดาลใจจากการขนส่งสาธารณะอย่างรถแท็กซี่และพื้นที่อันแสนคับแคบของแท็กซี่ ศิลปินนำองค์ประกอบเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นโปรเจกต์ใหม่ที่ทำให้ผู้ชมได้ใกล้ชิดกับงานศิลปะโดยตรง นาวินเปลี่ยนแท็กซี่ในประเทศไทยให้กลายเป็นแกลเลอรี่เคลื่อนที่ที่แสดงศิลปะบนเพดานรถและรอบๆ เบาะนั่ง คนขับรถยังคงรับผู้โดยสารภายในเมืองตามปกติ แต่กิจวัตรประจำวันเช่นนี้มีสีสันขึ้นด้วยงานศิลปะและการสนทนาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้โดยสาร/ผู้ชมงานศิลป์กับคนขับรถ โปรเจกต์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงนี้นำไปสู่การร่วมมือกับศิลปินคนอื่นๆ หลายต่อหลายครั้ง และได้รับชื่อเสียงในระดับสากล

หลังจากความสำเร็จในครั้งนี้ นาวินก็ได้สร้างผลงานชิ้นอื่นๆ ขึ้นมาอีกด้วยคอนเซปต์ดั้งเดิมซึ่งพัฒนาต่อยอดจาก Taximan (2543) และ I Love Taxi (2544) โปรเจกต์ Taximan (2543) สร้างขึ้นเป็นการตูนชุด พระเอกของเรื่องเป็นซูเปอร์ฮีโร่ชื่อ แท็กชี่แมน ผู้แบกรับภารกิจในการกอบกู้โลก นาวินเข้าใจดีถึงบทบาทสำคัญของคนขับแท็กซี่ต่อวิถีชีวิตของชาวกรุงเทพฯ รวมถึงผู้มาเยี่ยมเยือน คนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่มีพื้นเพจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยของประเทศ นาวินจึงชื่นชมความวิริยะอุตสาหะในการเอาชีวิตรอดของคนเหล่านี้ เขาคิดว่าคนขับแท็กซี่คือฮีโร่ในชีวิตจริง เรื่องราวของ Taximan (2543) กล่าวถึงตัวละคร แท็กชี่แมน ที่เดินทางมายังโลกเพื่อตามหาคนขับรถมาช่วยต่อสู้กับศัตรูตัวฉกาจอย่าง มิลเลเนียมแมน ภาพวาดบนเพดานรถจัดวางเหมือนปกหนังสือการ์ตูน โดยมีชื่อเรื่องของแต่ละตอนและมีภาพสถานที่สำคัญจากทั่วโลก

This image has an empty alt attribute; its file name is 01-2000x2002.jpg

นาวิน ลาวัลย์ชัยกุลยังคงสำรวจจุดสมดุลระหว่างโลกาภิวัฒน์และเรื่องเล่าท้องถิ่น โดยหยิบยืมความคิดจากการพินิจตรึกตรองของเขาเองและอัตลักษณ์ของผู้อื่น หลายคนมองว่าวิธีเข้าถึงศิลปะของเขาคือการทลายกรอบ แต่ยังให้ชุมชนรอบข้างเป็นจุดเด่นหรือมีส่วนร่วมแทบทุกครั้ง นอกจากนี้ สื่อศิลปะของเขายังแผ่ขยายไปยังวิธีการเล่าเรื่องแบบอื่นๆ ทั้งผ่านภาพยนตร์ โฆษณา บิลบอร์ด และแน่นอนคือ หนังสือการ์ตูน

This image has an empty alt attribute; its file name is 09-2000x2001.jpg